Home บทความฟุตบอล การจากไปของ ราล์ฟ รังก์นิก จะดีหรือแย่?

การจากไปของ ราล์ฟ รังก์นิก จะดีหรือแย่?

0
การจากไปของ ราล์ฟ รังก์นิก จะดีหรือแย่?

หลังจากที่แฟนบอลทั่วโลก ต่างกำลังดื่มด่ำกับบรรยากาศเมื่อจบเกม ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ ที่ชัยชนะตกเป็นของ เรอัล มาดริด ในทางอีกฟากคู่อริของ ลิเวอร์พูลกลับมีข่าวช็อควงการมาจากสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่ทาง ฟาบริซิโอ โรมาโน่ นักข่าวสายซื้อ-ขายจอมแม่น รายงานออกมาแบบเร่งด่วน เกี่ยวกับการอำลาสโมสรของ ราล์ฟ รังก์นิก อดีตผู้จัดการทีม ปีศาจแดง ที่เข้ามาคุมทีมแบบขัดตราทัพช่วงกลางซีซั่นก่อน แล้วตามแผนงานที่วางไว้ คือ การดันเขาขึ้นไปเป็นที่ปรึกษาพิเศษของสโมสร เพื่อกำหนดแนวทางการฟื้นฟูทีมในอนาคตระยะยาวต่อไป

ก่อนหน้านี้ รังก์นิก เพิ่งจะตกปากรับงานคุมทีมชาติออสเตรีย ก่อนจบฤดูกาลมาหมาดๆ แล้วแฟนบอลต่างแตกเสียงออกเป็นสองฝ่ายว่า เขาควรอยู่ทำงานให้กับทีมต่อ หรือ ควรออกไปโฟกัสกับงานใหม่? แล้วเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ ทีพร้อมกว่าเข้ามารับหน้าที่ตรงจุดนี้แทน ซึ่งคำตอบที่ออกมาคงชัดเจนแล้วว่า รังก์นิก เลือกที่จะยกเลิกสัญญากับทีมด้วยความเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย แล้วอำลากันไปดด้วยีตามข้อตกลง โดยการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่เขา ไดด้ทำการพูดคุยระยะยาวกับ เอริก เทน ฮาก ผู้จัดการทีมคนใหม่ป้ายแดง ที่เข้ามารับไม้ต่อในฤดูกาลหน้า

แน่นอนว่าข้อมูลเบื้องต้นที่หลุดออกมาคร่าวๆ สื่อต่างรายงานตรงกันว่า เทน ฮาก และ รังก์นิก มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในการทำทีม เนื่องจากตัวของ เทน ฮาก ต้องการรับบทบาทคนตัดสินใจขั้นสุดท้ายแบบเด็ดขาดในเรื่องต่างๆ แต่พร้อมรับฟังคำแนะนำจากที่ปรึกษาคนอื่นๆ ซึ่งดูเหมือนว่า รังก์นิก เองจะไม่พอใจกับการถูกจำกัดบทบาท แล้วลความสำคัญของเขาที่มีกับทีมลงไป ทั้งที่มีตำแหน่งค้ำคออยู่เต็มตัว ดังนั้นการทนทู่ซี้อยู่กับทีมที่เขาไม่ต้องการ คงไม่มีประโยชน์อะไรอีก เมื่อเขาไม่เห็นค่า สู้ไปทำงานหลักให้เต็มที่คงจะดีกว่า จึงยอมหักไม่ยอมงอแบบที่เห็น

ณ ตอนนี้เอาจริงๆ แล้ว โครงสร้างของสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยังคงดูยุ่งเหยิงไม่เรียบร้อยเต็มที่ สตาฟฟ์ที่มีอำนาจหน้าที่ต่างๆ บทบาทค่อนข้างคลุมเครือ สายงานต่างๆ มีโอกาสทับซ้อนเกี่ยวเนื่องกันไปหมด การดึงเอาตัวเด็กเก่าหลายคนมาทำหน้าที่ในทีม เป็นเหมือนวัฒนธรรมขององค์กรที่ไม่สามารถลบล้างไปได้หมด แฟนบอลที่เป็นคนนอกยังคงไม่เข้าใจกับบทบาทของแต่ละคนเต็มร้อย

ไม่ว่าจะเป็น จอห์น เมอเทอร์ หรือ ดาร์เรน เฟล็ทเชอร์ ยังไม่นับรวมทีมสตาฟฟ์ชุดดใหม่ของ เทน ฮาก ที่ต้องมาประชุม พูดคุย หารือกันถึงแนวทางการทำทีม การซื้อ-ขายตัวผู้เล่น และ การวางเป้าหมายในระยะสั้นและยาว ถ้าขาด รังก์นิก ทีเป็นเหมือนหัวเรือตัวดำเนินงานออกไป หากไม่มีแผนการคร่าวๆ ในการจัดการทิ้งไว้ให้ เชื่อว่า คงใช้เวลาจูนกันอีกนานพอสมควรเลยทีเดียว เพราะต่างฝ่ายต่างยังไม่ได้มีเวลาศึกษากันดีพอ

การที่ รังก์นิก เลือกเดินออกไปจากถิ่น โอลด์ แทรฟฟอร์ด อาจเป็นเรื่องที่น่าดีใจสำหรับแฟนบอลบางส่วน แต่ในทางกลับกันหากมองให้ลึกดีๆ ก็มีสิ่งที่น่าเสียดายอยู่ไม่น้อย จริงอยู่ที่ผลงานการคุมทีมข้างสนามของเขาค่อนข้างย่ำแย่ าทีมทำอันดับดิ่งเหวแบบไม่ควรจะเป็น เกมที่ควรจะชนะกลับทิ้งแต้มออกไปมากมาย สภาพจิตใจของผู้เล่นดำดิ่งถึงขีดสุด เล่นเอาสตาร์หลายคนฟอร์มออกทะเลแบบกู่ไม่กลับ แต่ถ้าโฟกัสกันที่บทสัมภาษณ์ต่างๆ ที่เขาทิ้งคำใบ้เอาไว้ ถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่และฝั่งรากลึกมาอย่างยาวนาน จะเห็นได้ว่าจุดเริ่มต้นของความล้มเหลวในซีซั่นนี้ ไม่ได้มาจากผลงานในสนามของนักเตะเพียงอย่างเดียว แต่สาวไส้ไปถึงการบริหารงานแบบผักชีโรยหน้าอีกด้วย

รังก์นิก เคยสับเรื่องความทุ่มเทในสนามของนักเตะบางราย ที่สนใจเรื่องนอกสนามมากกว่าผลงานในสนาม ซึ่งนั่นก็มีเค้าโครงของความเป็นจริงให้เห็นกันอยู่ การใช้เงินที่ดูไม่เหมาะไม่ควรในการซื้อตัวผู้เล่นในยุคก่อน กับงบประมาณหลายสิบล้านปอนด์ แทนที่จะเอาไปทุ่มซื้อตัวที่ใช้งานได้เลย เข้ามาแก้จุดบอดที่เด่นชัดอย่างตัวรับ กลับเอาไปผลาญเป็นดาวรุ่งตำแหน่งปีกขวาอย่าง อาหมัด ดิยัลโล่ และ ฟาคุนโด้ เปลยิสตรี ที่สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้เก็บเอาไว้ใช้งานกับทีม ปล่อยให้ออกไปหาประสบการณ์ด้วยสัญญายืมตัว ยังไม่นับรวมการจัดการปัญหาเรื่องสัญญาของนักเตะที่กำลังหมดไม่ได้ ต้องเสียผู้เล่นออกไปแบบฟรีๆ ในอนาคตอันใกล้ แถมต้องไปดิ้นรนหาตัวแทนในตลาด ด้วยการทุบคลังอีกเป็นรอบที่เท่าไหร่ก็ไม่รู้

หลายครั้งหลายคราวที่การพูดแบบขวานผ่าซากของ รังก์นิก อาจทำให้เขาดูเหมือนเป็นตัวปัญหา แต่องค์กรใหญ่ระดับนี้กลับมีการบริหารงานกันแบบเด็กเล่น จะโดนสวดก็ไม่แปลก เอาคนไม่มีความรู้ด้านฟุตบอลมาเป็นคนตัสินใจขั้นสุดท้าย เพราะเป็นคนที่เจ้าของสโมสรไว้เนื้อเชื่อใจ วัฒนธรรมองค์กรที่แสนโบราณ จะทำอะไรขั้นต่อไปยังต้องปรึกษากุนซือเก่าอยู่กันด้วยลูกเกรงใจแบบทีมที่ไม่มีการพัฒนา

ทั้งที่สโมสรคู่แข่งเขาก้าวไกลไปถึงไหนต่อไหนกันแล้ว กลายเป็นว่าตอนนี้ขาดตัวชน ตัวไฟท์ ต้องฝากอนาคตไว้กับกุนซือใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ ในการคุมทีมลุยศึก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ด้วยการวัดใจกันเพียงอย่างเดียว ฟังเหมือนจะดูดีเพราะให้อิสระเขาอย่างเต็มที่ แต่ถ้าหากข่าวลือเป็นจริงว่าจะนำ สตีฟ แม็คลาเรน อดีตมือขวาป๋าเฟอร์กี้กลับมา เพื่อช่วยแนะแนวทางให้กับ เทน ฮาก บทลงเอย คงจะหนีไม่พ้นการพายเรือวนในอ่าง ใช้แต่วิธีเก่าๆ คร่ำครึ ทั้งที่วงการฟุตบอลเข้าก้าวไกลไปถึงไหนต่อไหน แตกย่อยฝ่ายสตาฟฟ์ออกไปหลายแผนก ไม่ได้มามัดรวมกันเป็นกระจุก แบ่งหน้าที่กันไม่เป็นระเบียบอย่างที่เห็น

เผลอๆ สัญญาระยะเวลาสามปีของ เทน ฮาก จะกลายเป็นการซื้อเวลาแบบเปล่าประโยชน์ไปอีกครั้งเครือข่ายความสัมพันธ์ของ รังก์นิก ที่เคยทำงานเป็นผู้อำนวยการกีฬาฟุตบอลมาก่อน ย่อมมีลิสต์รายชื่อดาวเตะฝีเท้าดี ที่สามารถพูดคุยดึงตัวมาในราคาย่อมเยาว์มากมาย กลายเป็นว่า ปีศาจแดง จะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากจุดนั้นแม้แต่นิดเดียว การเข้าตลาดรอบหน้าได้แต่หวังว่าทีมซื้อ-ขาย และตัวบอร์ดที่อนุมัติงบประมาณ จะซื้อผู้เล่นตามใบสั่งจริงๆ จากตัวกุนซือ

ไม่เช่นนั้นการได้เป้าหมายตัวรองอันดับสาม อันดับสี่ คงไม่ได้ทำให้ทีมไปถึงจุดหมายตามที่ต้องการได้ แล้วอาจต้องมาวอดดวายเสียเงินแบบโง่ๆ เหมือนในดีลของ แฮร์รี่ แม็คไกวร์ ก่อนที่จะย้ายไป เลสเตอร์ ซิตี้ ที่ถ้าฟังคำพูดของ โชเซ่ มูรินโญ่ คงได้ตัวกัปตันรายนี้มาอยู่กับทีมด้วยการซื้อจาก ฮัลล์ ซิตี้ ในราคาแค่ 20-30 ล้านปอนด์เท่านั้น ไม่ใช่ย้ายมาด้วยค่าตัวระดับสถิติโลก แล้วโดนกดดันจนฟอร์มไม่เอาอ่าวอย่างที่เห็น ขอเตือนแฟนบอล เร้ด เดวิลส์ เอาไว้ตรงนี้ก่อนเลยว่า อย่าฝันหวาน แล้วเผลอใช้สกิลปาก มากเกินพอดี ไม่เช่นนั้นอาจเจ็บซ้ำๆ ซากๆ จมอยู่กับความล้มเหลว ยึดติดแต่ความสำเร็จในอดีต เพราะต่อให้เข้าสู่ยุคใหม่จริง แต่การจัดสรรทัพยากรและการบริหารยังครอบดด้วยคนยุคเก่า ระบบแบบเก่าๆ โอกาสที่จะพัฒนาไปสู่จุดที่ควรจะเป็น คงต้องรอกันไปแบบไม่มีกำหนด

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้