10 กฏการแบน สิ่งของ และ พฤติกรรม สุดแปลกของกุนซือชื่อดังในดลกฟุตบอล ตอนจบ

ต่อเนื่องจากบทความก่อนตอนก่อนที่พูดถึง การแบน 10 พฤติกรรมหรืออาหารการกินอาหารแปลกๆ ของวงการฟุตบอลจากเหล่าผู้จัดการทีมสมองเพชร ซึ่งไม่แน่ใจว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการสร้างกฏระเบียบให้ทีมอยู่กับร่องกับรอย หรือเป็นการกดดันนักเตะแบบไม่จำเป็นกันแน่

เนื่องจากผลลัพธ์ของการตัดสินใจเหล่านั้น ลงเอยต่างกันออกไปหลายรูปแบบ หากคุณโชว์ฝีมือการวางแทคติกส์จนได้ใจลูกทีม ไม่ว่าจะออกมาตรการใดๆ ออกมาให้ทำตาม ลูกทีมก็พร้อมจะยอมโดยไม่มีเงื่อนไข แต่ถ้าชื่อชั้นและศักยภาพยังอยู่ในเกณฑ์ทั่วๆ ไป อาจกลายเป็นเรื่องไร้สาระ

ทุกวันนี้เรื่องของสิทธิมนุษยชนถือเป็นเรื่องใหญ่ ต่อให้อยู่ในฐานะเจ้านายกับลูกน้อง ย่อมต้องมีเส้นบางๆ คั่นกลางที่ห้ามล้ำกันเด็ดขาด การบังคับให้ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่ตั้งขึ้น หากมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ แล้วไม่ดูเข้มงวดดจนมากเกินไป คงไม่เป็นประเด็นที่สื่อนำมาขายข่าว

แต่การจะออกคำสั่งเหล่าซูเปอร์สตาร์ที่มีชื่อในวงการลูกหนัง ตัวของเทรนเนอร์เองต้องมีบารมีในระดับหนึ่ง ใช่ว่าจะเป็นตาสีตาสามาจากไหนแล้วตั้งกฏอะไรขึ้นมาก็ได้ ยิ่งเป็นโค้ชที่เพิ่งสั่งสมบารมีได้ไม่นาน แล้วกระโดดมารับงานสโมสรใหญ่ๆ แบบข้ามขั้น จากอนาคตที่กำลังพุ่งสุดขีด อาจไปชนตอนักเตะอีโก้สูงแล้วกลายเป็นดับในชั่วพริบตา

บทความนี้ พร้อมนำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับ 10 ข้อห้ามแปลกๆ ของเหล่าเทรนเนอร์เป็นตอนต่อเนื่อง ซึ่งจะเหลือวีรกรรมสุดแสบจากโค้ชอีก 5 รายด้วยกัน เมื่อมองจากรายชื่อเผินๆ แล้ว มีระดับปรมาจารย์ของวงการติดเข้ามาเพิ่มสีสันในคลิปนี้ด้วย รวมไปถึงกุนซือเบอร์รองๆ ที่พอจะมีฝีมือ แต่ไม่ได้โด่่งดังมากนักคละกันไป มาดูกันไปพร้อมๆ กันเลยว่า คำสั่งของพวกเขาที่ว่าแปลกแหวกแนวจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรกันบ้าง? แฟนๆ นั้่นมีความคิดเห็นอย่างไรกับแนวคิดดังกล่าว? ลองจินตนาการดูว่าถ้าเหตุการณ์เหล่านั้นมาเกิดดในช่วงยุคสมัยนี้ ผลลัพธ์จะออกมาดีหรือแย่กันแน่?

เริ่มต้นกันที่กุนซือชื่อดังชาวอิตาลีอย่าง อิล แทร็ป โจวานนี่ ตราปัตโตนี่ ที่สร้างชื่อจากการคุมทีมหลากหลายระดับในบ้านเกิด ก่อนจะยกระดับขึ้นไปเป็นเทรนเนอร์ทีมชาติ ครั้งหนึ่งเขาเคยโยกไปรับงานคุมทัพ ยักษ์เขียว ทีมชาติไอร์แลนด์ แล้วจัดการออกคำสั่งแบน อาหารประเภทเห็ด ออกจากเมนู ควบคุมน้ำหนักตามโภชนาการในแคมป์ทีมชาติ

เนื่องมาจากเขาได้เห็นจำนวนการเสิร์ฟอาหารอันมากมายเกินพอดี จนมองว่าถึงเปลี่ยนมาเป็นอาหารประเภทผัก หากรับประทานเยอะเกินไปก็ย่อมมีผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน แต่สุดท้ายแล้ว ตราปัตโตนี่ ก็อยู่คุมทีมได้เพียงแค่สองปี แล้วการแบนเห็ดออกจากเมนูในแคมป์ทีมชาติก็หายไป ทำให้เหล่านักเตะได้เอ็นจอยกับอาหารถิ่นที่พวกเขาคุ้นเคยอีกครั้ง

ต่อกันที่กุนซือจอมเก๋าอย่าง นีล เลนน่อน ที่เคยรับงานคุมทีม โบลตัน วันเดอร์เรอร์ส แล้วไม่ชอบใจเท่าไหร่ที่แฟชั่นการสวมหมวกทรง บีนนี่ แฮท เป็นแฟชั่นที่นิยมในหมู่นักเตะ ความจริงแล้วการสวมหมวกก่อนมายังสนาม ผู้เล่นเหล่านั้นมีจุดประสงค์ไม่ใช่เรื่องของการโชว์สไตล์การแต่งตัวที่มีคลาส แต่ต้องการสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย

เพื่อสามารถทนทานกับสภาพอากาศที่หนาวเหน็บได้ แต่เทรนเนอร์มากประสบการณ์รายนี้ กลับเลือกใช้ตนเองเป็นที่ตั้งในการตัดสินใจ เพราะเขาเป็นกองกลางพันธุ์ดุ ที่เล่นได้ทุกสถานการณ์ แบบไม่กลัวเจ็บกลัวตาย เลยมองว่าการสวมหมวกลงมาซ้อมท่ามกลางอากาศที่หนาวเหน็บ นั้นเป็นการแสดงถึงความอ่อนแอ หากอยากทำให้ร่างกายให้อุ่นขึ้นก็แค่วิ่งเยอะๆ แทนก็ได้

อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าอับอายจนแทบแทรกแผ่นดินหนีก็คือ ตัวเของ เลนน่อน ถูกจับภาพใส่หมวกบีนนี่ลงคุมทีมซ้อมอยู่บ่อยๆ ดูเหมือนจะย้อนแย้งไม่น้อยกับคำสั่งที่พ่นออกไป

มาถึงคิวของกุนซือระดับบรมครูอย่าง เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ซึ่งขึ้นชื่ออยู่แล้วกับแนวทางการบริหารที่โบราณ ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหลัก เพื่อควบคุมลูกทีมไม่ให้แตกแถว ยิ่งรู้ว่าสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นทีมที่มีประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ เฟอร์กี้ มองว่า นักเตะมักจะหลงระเริงได้ง่าย หากปล่อยให้ใช้ชีวิตได้ตามใจชอบ จากการที่ทำฝันให้เป็นจริง มีชื่ออยู่ในทีม ปีศาจแดง ตามที่เคยนึกคิดเอาไว้

เขาจึงเลือกที่จะออกกฏให้นักฟุตบอลเยาวชนของทีม ไม่สามารถสวมใส่สตั๊ดที่มีลวดลายหลากสีสัน หรือ สื่อไปทางแฟชั่นได้ สตั๊ดที่เด็กจากอะคาเดมี่สวมใส่ได้ ต้องมีสีดำแบบเบสิคเท่านั้น ตามคำให้สัมภาษณ์ของ จอห์น โอเช อีกหนึ่งลูกหม้อของทีม ซึ่งถ้าใครแหกกฏแล้วทำผลงานในสนามได้แย่ เตรียมหมดอนาคตได้เลย

เข้าสู่กุนซือคนรองสุดท้าย อาจไม่ใช่โค้ชที่มีฝีมือฉกาจฉกรรจ์ แต่ผลงานในตอนที่ เปาโล ดิ คานิโอ ลงสนามในฐานะนักเตะ เขาคือหนึ่งในกองหน้าชาวอิตาเลี่ยน ที่สั่นสะเทือนวงการลีกอังกฤษได้อยู่ มีช่วงหนึ่งที่เขารับงานคุมทีมอย่าง ซันเดอร์แลนด์ ความเข้มงวดของเขาทำให้มีการออกกฏยิบย่อยมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ ในพื้นที่หวงห้ามแบบ โรงอาหาร เป็นต้น

อย่างไรก็ตามจากการที่เป็นนักเตะสายใจเกเรอยู่นิดหน่อย ดิ คานิโอ เข้าใจดีว่า การห้ามนักเตะออกไปสังสรรค์ปาร์ตี้ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลับหลังเขาเป็นเรื่องยากเอามากๆ จึงไม่ได้ตามจิกในจุดนั้น

แต่กลับออกกฏตารางอาหารที่ห้ามกินบนบอร์ดในโรงอาหารของสโมสรแทน ยกตัวอย่างเช่น มายองเนส, ซอสมะเขือเทศ และ น้ำแข็ง เพราะมองว่าจะส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหารของลูกทีมนั่นเอง

ปิดท้ายกันที่เรื่องตลกชวนหัวจากสโมสร ซันเดอร์แลนด์ ในยุคที่มี ปีเตอร์ รีด คุมทัพอยู่ แฟนบอลในยุคนี้คงรู้สึกภาคภูมิใจหากนักเตะซูเปอร์สตาร์ในทีมที่ตัวเองเชียร์ ได้เป็นพรีเซนเตอร์เรื่องการกระตุ้นการท่องเที่ยว หรือ ทำหน้าที่แบรนด์แอมบาสซาเดอร์ให้กับสายการบินที่สนับสนุนต้นสังกัดอยู่เบื้องหลัง อย่างเช่น กรณีของ แจ็ค กรีลิช ที่มีรูปกระจายอยู่ตามเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ อาทิ ลาส เวกัส หรือ อิบิซ่า

แต่ถ้าย้อนกลับกว่า 20 ปีก่อน สเตฟาน ชวาร์ซ กองกลางตัวเก่งของ แมวดำ เคยได้รับการติดต่อให้เป็นพรีเซนเตอร์ การท่องเที่ยวออกไปสู่นอกโลกในชั้นบรรยากาศ แล้วถูกทางต้นสังกัดเบรคเอาไว้แบบทันทีทันควันในปี 2002 เนื่องจากเกรงกลัวว่า ระยะเวลายาวนานของการบิน อาจจะกระทบต่อสภาพร่างกายของนักเตะได้ นับมาจนถึงวันนี้ความฝันในการไปท่องอวกาศของ ชวาร์ซ ยังไม่เคยเป็นจริงอีกเลย

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้

Scroll to Top